ลักษณะสำคัญของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง มีลักษณะเด่น ดังนี้ 1. เป็นแนวทางใหม่ที่หลีกเลี่ยงชุมชนมากที่สุด 2. มีการควบคุมทางเข้า-ออกที่สมบูรณ์แบบ มีรั้วกั้นเขตทาง รถสามารถใช้ความเร็วได้ตามที่ออกแบบ ไม่มีอุปสรรครบกวนจากการที่คนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้า 3. บริเวณทางแยกต้องเป็นทางแยกต่างระดับ ไม่มีสัญญาณไฟจราจร 4. เป็นทางหลวงที่มีมาตรฐานสูงกว่าถนนธรรมดา รถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 120-140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 5. มีสถานีบริการ (Service Area) ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ปั้มน้ำมัน ห้องสุขา เป็นต้น ไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ทางตามจุดที่กำหนดไว้ในเขตทาง ประโยชน์ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ประโยชน์โดยตรงของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสรุปได้ ดังนี้ 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถ การที่รถสามารถใช้ความเร็วได้คงที่โดยไม่ลดและเพิ่มความเร็วบ่อยครั้ง จะทำให้ลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าซ่อมบำรุงรักษา 2. ประหยัดเวลาในการเดินทาง รถสามารถใช้ความเร็วได้สูง เนื่องจากไม่มีอุปสรรคจากการที่คนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้า และแนวทางห่างชุมชน มีรั้วกั้นปราศจากการรบกวนที่ต้องชะลอความเร็วลง 3. ลดอุบัติเหตุ การที่มีรั้วกั้นตลอดแนวทาง ทำให้ลดอุบัติเหตุได้อย่างมาก 4. ส่งเสริมการกระจายการพัฒนาไปยังภูมิภาค การที่มีโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถกระจายการพัฒนาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมาแออัดอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถกำหนดระยะเวลาของการเดินทางจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งบริโภคได้อย่างแน่นอน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการแล้ว ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการแล้ว จำนวน 2 สาย คือ (1) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพ-ชลบุรี (สายใหม่) ระยะทาง 82 กิโลเมตร (2) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก ระยะทาง 64 กิโลเมตร
แผนพัฒนาทางหลวงเพื่อชุมชน

ความเป็นมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2540 เห็นชอบในหลักการในการก่อสร้าง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Inter-City Motorway) จำนวน 13 เส้นทาง เป็นระยะทาง 4,150 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 472,360 ล้านบาท (มูลค่า ปี 2540) ระยะเวลาดำเนินการ 20 ปี จากปี พ.ศ. 2540 – 2559 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อกำหนดโครงข่ายแผนการก่อสร้างทางหลวงที่มีมาตรฐานสูง เสริมสร้างสมรรถนะ ทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืนในอนาคต 2. เพื่อเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสนับสนุนนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีช่วยลดอุบัติเหตุและลดมลภาวะ 4. เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเมืองหลักในภูมิภาคทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเป็นทางหลวงมาตรฐานสูง
- Log in to post comments