เว็บไซต์ทางหลวง ติดต่อสำนัก เข้าระบบ

แผนยุทธศาตร์กรมทางหลวง พ.ศ. 2555 - 2559

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้การบริหารบ้านเมืองเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐนั้น ส่วนราชการระดับกรมจะต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ว้ดผลสำเร็จจากการดำเนินงานหลักของทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ โดยจะต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง และระดับชาติ อีกทั้งจะต้องเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่

กรมทางหลวงได้มีการจัดทำแผนยุทธศสตร์ พ.ศ. 2549-2554 ซึ่งได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2554 ดังนั้น กรมทางหลวงจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวง พ.ศ. 2555-2559 โดยเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะบูรณาการตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) คือ มีความเชื่อมโยงแบบองค์รวม มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งคำนึงถึงหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักธรรมาภิบาล และแนวทางเครื่องมือการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART) ของสำนักงบประมาณ อีกทั้งได้ผ่านขั้นตอนการนำเสนอแนวความคิดเบื้องต้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ และการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการทำงานของกรมทางหลวง ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ และได้ทำการประมวลผลลัพธ์ทั้งหมดออกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้

วิสัยทัศน์ 

        "มุ่งสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำด้านงานทาง เชื่อมโยงการขนส่งอย่างยั่งยืน"

มีความหมายดังนี้ :

องค์กรชั้นนำด้านงานทาง หมายถึง

  • มีการบริหารองค์กรที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล หรือการบริหารบ้านเมืองที่ดีมีโครงสร้างที่เหมาะสมมีรูปแบบการบริหารดีฉับไว ทันต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ มีการบูรณาการในการทํางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความคล่องตวในการทำงาน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และได้รับการยอมรับจากประชาชน
  • บุคลากรมีปริมาณที่เหมาะสมกับเนื้องาน มีความสามารถ ทันคติ และจริยธรรมที่ดีในการทํางาน
  • มีการทํางานที่มีประสิทธิภาพ และรักษามาตรฐานที่ดี สามารถแก้ไขปัญหางานทางเฉพาะหน้าได้ทนทันท้วงที เช่น ความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติ
  • มีความรู้และเทคโนโลยีที่ทนสมัยย มีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจ เพื่อช่วยให้การพัฒนางานทางและการดําเนินงานของกรมทางหลวงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังบุคลากรทุกระดับ และมีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น
  • มีการดําเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ
  • มีการพิจารณาเพิ่มบทบาทภาคเอกชนที่เหมาะสม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล มีการดําเนินงาน (Operate) ที่คล่องตัว เกิดรายได้หมุนเวียน ทําให้การพัฒนางานทางมีเสถียรภาพมากขึ้น

เชื่อมโยงการขนส่ง หมายถึง

  • มีการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อสนับสนุนการก้าวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสนับสนุนนโยบายการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อด้านการขนสงของภูมิภาค
  • มีการเชื่อมโยงพืนที่เศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว คล่องตัวในการเดินทาง และการขนส่งสินค้า
  • มีการเชื่อมโยงการขนส่งหลายรูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงระบบการขนส่งของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ยั่งยืน  หมายถึง 

ยั่งยืน มาจากคำว่า Sustainable Development มีความหมายหลายมิติ คือ มิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม  ซึางเป็นแนวิคดสากลทที่เป็นที่ยอมรับและทั่วโลกให้ความสําคัญ

  • มีการพัฒนาทางหลวงที่ส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เสริมสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางและสัญจรของประชาชนรวมทั้งสนับสนุนการติดต่อค้าขาย การทําธุรกรรม และระบบโลจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
  • มีการพัฒนาทางหลวงอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • มีการเตรียมแนวทางการดําเนินงานเพื่อส่งเสริมการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน
  • มีโครงข่ายทางหลวงที่มีความปลอดภัย
พันธกิจ 
  1. พัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวง และเชื่อมโยงระบบขนส่ง เพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ภาคการขนส่ง
  2. พัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวง และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  3. กำกับ ดูแล ปรับปรุง โครงสร้างพืนฐานทางด้านการก่อสร้างและบํารุงรักษาทางหลวง เพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสทธิภาพ
  4. กำกับ ดูแล และปรับปรุงทางหลวง ให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้เส้นทาง
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรรให้มีประสทธิภาพ เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในเชิงบูรณาการทั้งด้านเทคโนโลยีการบริการ สังคมและสิ่งแวดล้อม
คำนิยม 

ค่านิยมแบบ 4G

  • GOOD KNOWLEDGE AND EXPERIENCE 
    องค์กรที่มีความรู้ความชํานาญด้านงานทางสงู
  • GOOD TECHNOLOGY AND COMMUNICATION 
    ให้ความสําคญกับเทคโนโลยี และสารสนเทศที่ทนสมัย
  • GOOD GOVERNANCE 
    ยึดหลักธรรมาภิบาลตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • GOOD SERVICE AND ENVIRONMENT 
    ใส่ใจการให้บริการผ้ใช้ ทางและรักษาสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรมองค์กร 
  • Deliver good service   มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ
  • Obligation to governance   ยึดหลักธรรมาภิบาล และความพอเพียง
  • High accountability  มีความรับผิดชอบและเสียสละเพื่อประโยชน์ของประเทศชาตและประชาชน
ประเด็นยุทธศาสตร์ 

การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์เป็นการกําหนดประเด็นหลักที่ต้องดําเนินการเพื่อให้ผู้บริหารมุ่งเน้นสิ่งที่ต้องการจะพัฒนาเพื่ออนําไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้
กําหนดไว้โดยในการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในนครังนี้ ได้พิจารณาถึง 

  1. ต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจเขียนออกมาเชิงสิ่งที่กรมทางหลวง ต้องการจะพัฒนาภายใต้กรอบระยะเวลาของวิสัยทัศน์
  2. ให้ความสําคญกับความท้าทายต่อองค์กร
  3. ครอบคลุม สอดคล้องกบันโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ กระทรวงคมนาคม 
  4. มีความสมดุลของโอกาสและความท้าทายในระยะสนและระยะยาว
  5. มีความสมดุลของความต้องการของผ้มูีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด

ซึ่งสามารถสรุปประเด็นยุทธศาสตร์  ได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่1  การพัฒนาโตรงข่ายทางหลวงเพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์ภาคการขนส่ง

ยุทธศาสตร์ที่2  การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่3  การดูแลรักษา ปรับปรุง และพัฒนาประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงให้กระจายทั่วทุกภูมิภาค

ยุทธศาสตร์ที่4  การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่5  การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร ตอบสนองสังคมและสิ่งแวดล้อมตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แผนที่ยุทธศาตร์ 

 

 

กลับสู่ด้านบน