งานก่อสร้างทางและสะพานที่ดำเนินการเอง
โครงการพัฒนาทางหลวง
การปรับปรุงเส้นทางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางชีวิตและทรัพย์สิน เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาเส้นทางหลวงให้เคียงคู่กับความเป็นอยู่ของสังคมไทย ซึ่งกรมทางหลวง ได้ตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในด้านรูปแบบและการก่อสร้าง ให้กระทบกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนน้อยที่สุด และต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้เบ็ดเสร็จ เช่น ปัญหาด้านการจราจรแออัด , อุบัติเหตุ , การจอดรถไม่เป็นระเบียบ , การรุกล้ำเขตทาง , ปัญหาน้ำท่วมขัง และด้านสาธารณูปโภค เป็นต้น เพื่อเพิ่มการให้บริการและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยสองข้างทาง และผู้ใช้เส้นทางให้ดีขึ้นและยั่งยืนตลอดไป
แนวคิดและรูปแบบโครงการ
- ยกระดับการให้บริการโดยการเพิ่มช่องจราจรและช่องทางการแซง
-
ปรับปรุงผิวจราจรที่ชำรุดและขยายไหล่ทางให้กว้างขึ้น
-
ปรับปรุงทางแยก เกาะกลาง และระดับความชัน
-
ปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเท้า ทางจักรยาน พื้นที่จอดรถ
-
ปรับปรุงระบบอำนวยความปลอดภัย เช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง
-
ปรับปรุงพื้นที่ขายสินค้าเพื่อความเป็นระเบียบ
การจัดการงานวางแผนโครงการพัฒนาทางหลวง งานพัฒนาทางหลวง ในส่วนรับผิดชอบของสำนักแผนงาน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- กิจกรรมปรับปรุงทางหลวงผ่านย่านชุมชน
- กิจกรรมปรับปรุงทางหลวงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
- กิจกรรมลาดยางทางหลวง
- กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |