แผนปฎิบัติการ
แผนปฎิบัติการ
แผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวง พ.ศ. 2555-2559 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะบูรณาการตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มีความเชื่อมโยงแบบองค์รวม โดยได้นําเอาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของกรมทางหลวง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคม ขนส่ง และนโยบายของแผนระดับต่างๆ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรคของกรมทางหลวง การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีสวนได้ ส่วนเสีย มาประกอบการพิจารณา จัดทำแผนยุทธศาสตร์ อีกทั้งคำนึงถึงหลักเกณฑ์ และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหลักธรรมาภิบาล และแนวทางเครื่องมือการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดําเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART) ของสํานักงบประมาณ เพื่อให้แผนยทธศาสตร์ฉบับนี้เป็นแผนยทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อีกทั้งสนองตอบความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนทุกภาคส่วน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร พ.ศ. 2554-2563 เป้าประสงค์ของแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร มี 6 เป้าประสงค์ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับ กรมทางหลวง ดังนี้
- เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง (Hub for Connectivity)
- เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อให้มีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพและระดับการให้บริการที่ดีเชื่อมโยงพืนที่เศรษฐกิจและชมชน (Accessibility)
- เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความปลอดภัย (Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง
- เป้าประสงค์ที่ 4 เพื่อส่งเสริมการขนส่งที่ประหยดพลังงาน (Energy Saving) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly)
- เป้าประสงค์ที่ 5 เพื่อยกระดบการเข้าถึงและเพิ่มการใช้ระบบขนสงสาธารณะ (Public Transport)
- เป้าประสงค์ที่ 6 เพื่อเพิ่มความคล่องตัว (Mobility) ในการเดินทางและการขนส่ง
กระทรวงคมนาคม ได้กําหนดแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2554-2558 โดยประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด ของกระทรวงคมนาคมล้วนเกี่ยวข้องกับกรมทางหลวง ดังนี้
ภารกิจของกรมทางหลวง
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวงกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2552 กําหนดให้กรมทางหลวงมีภารกิจเกี่ยวกบการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานด้านทางหลวงการก่อสร้างและบํารุงรักษาทาง หลวงให้มีโครงข่ายทางหลวงที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง โดยภารกิจดังกล่าว เป็น การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า สามารถเข้าถึงพื่นที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง ในอนาคตภารกิจงานก่อสร้างทางหลวง จะลดลง มุ่งสู่ ภารกิจการบํารุงรักษา ความสะดวก ความปลอดภัย ลดต้นทนการขนส่งและโลจิสติกส์ เน้นสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่สมบูรณ์ครอบคลมทั่วทั้งประเทศ การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ และการบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การบํารุงและพัฒนาโครงข่ายทางหลวงมีประสิทธิ์ภาพ